กรุงเทพฯ 21 ธันวาคม 2566 – ในขณะที่กระแสความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศไทยมีกำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการแต่งงานได้รับการพิจารณาในรัฐสภาในเดือนธันวาคมนี้ กลุ่มพันธมิตรของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นเครือข่ายบุคคลและองค์กรในชุมชนที่ทำงานเพื่อปรับปรุงสิทธิมนุษยชนของกลุ่มของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมานานหลายทศวรรษ จึงรวมตัวกันขึ้น เพื่อจัดงานไทยแลนด์ไพรด์เฟสติวัล 2023 ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-26 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร

ภายใต้แนวคิด “My PRIDE Everyday” เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของงานที่ต้องการสร้างการตระหนักรู้ถึงความสวยงามของความหลากหลายและเท่าเทียม และการต่อสู้ขององค์กรเครือข่ายเพื่อความเท่าเทียมและความเสมอภาคของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้ทุกวัน ไม่ใช่เพียงแค่ในเดือนไพรด์เท่านั้น

“อย่างที่เคยพูดไปตอนเดือน Pride Month ว่าอยากจะให้เป็น My PRIDE Everyday ก็ขอเชิญเลยครับ ที่นี่ก็พร้อมยินดีต้อนรับพวกทุกคน ตอนนี้เป็นเวลาของทุกคนอยู่แล้ว และเราก็โอบกอดความแตกต่าง และก็ให้เกียรติทุกคน จริง ๆ ผมไม่ใช่แขกนะครับ ผมเป็นเจ้าบ้านที่อยู่ด้านหลังนี้เอง… ยินดี และ ขอบคุณที่ให้เกียรตินะครับ กทม.พร้อมจะไปพร้อมกับทุกคน มาร่วมกันสร้างกรุงเทพให้เป็นเมืองน่าอยู่ สำหรับทุกคนครับ”

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ที่สำคัญงานไทยแลนด์ไพรด์เฟสติวัล 2023 ได้ขยายแนวคิดเรื่อง สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง นอกเหนือจากกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ไปยังกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชายขอบอื่น ๆ เพื่อที่จะ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”ตามหลักคำปฏิญาณขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งกำหนดไว้ในวาระ 2030 เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งคำว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ในที่นี้หมายถึงการรวมตัวกันทางสังคม ซึ่งนำไปสู่การสร้างการมองเห็นและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเปราะบางและชายขอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ทางผู้จัดและผู้ร่วมจัดงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งประเด็นเกี่ยวกับสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แรงงานข้ามชาติที่เป็นกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ประเด็น Sex Work เรื่องการทำแท้งถูกกฎหมาย ผู้ที่ใช้สารเสพติด เรื่องสุขภาพและประเด็นเอชไอวี มาจับมือกันเพื่อทำให้งานไทยแลนด์ไพรด์เฟสติวัล 2023 นี้เกิดขึ้น และสอดคล้องกับแนวคิดของงานที่ว่า “My PRIDE Everyday”

ตลอด 3 วันที่มีงาน Thailand PRIDE Festival 2023 มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากมาย และมีผู้เข้าร่วมงานถึง 700-1,000 คน จากทั้งชุมชนกลุ่มของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ จากหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังมีฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมือง องค์กรไม่แสวงผลกำไร สถานทูต ภาคเอกชน ดารา นักวิชาการ และนักศึกษา และอีกมากมายที่ตบเท้าเข้ามาร่วมงาน ซึ่งเราสามารถสรุปออกมาเป็นไฮไลท์สั้น ๆ ของกิจกรรมในแต่ละวัน ดังนี้

24 พฤศจิกายน 2566: งานมอบรางวัล ฮีโร่อวอร์ด 2023 และ อาฟเตอร์ ปาร์ตี้

ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล

งานมอบรางวัลฮีโร่อวอร์ดเป็นงานมอบรางวัลที่จัดขึ้นทุก ๆ ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อเชิดชูเกียรติ และเชิดชูผลงานที่โดดเด่นของคนทำงานในประเด็นต่อต้านเชื้อเอชไอวี ผลักดันสิทธิความเสมอภาคในกลุ่มผู้ทีมีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้ธีม “Forward Together” มีถึง 17 บุคคลและองค์กรที่ถูกเชิดชูเกียรติในงาน ซึ่ง มี 11 บุคคลและองค์กรได้รับรางวัลฮีโร่อวอร์ดในปีนี้ ทั้งนี้มีแขกผู้มีเกียรติทั้งจากเอกอัครราชทูตจากแคนาดาและลักเซมเบิร์ก และตัวแทนจากคณะทูตจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และตัวแทนชุมชนจาก 35 องค์กรใน 15 ประเทศทั่วภูมิภาคที่เข้าร่วม APCOM Community Summit 2023 มาร่วมงานด้วย

ดร.แอ็นสท์ ไรเชิล (HE. Dr Ernst Reichel) เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวเปิดงาน “งานมอบรางวัล ฮีโร่อวอร์ด 2023 ที่จัดโดยมูลนิธิแอ็พคอม และมีสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยเป็นเจ้าภาพนี้ เป็นงานที่เชิดชูเกียรติผู้ที่มีความเป็นเลิศในการสร้างความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นในชุมชน”

งาน HERO Awards After Party 2023 จัดขึ้นที่สถานที่เดียวกัน ปาร์ตี้ระดมทุนครั้งนี้จุดประกายเหล่าคนรักปาร์ตี้ด้วย Circuit DJ และโชว์สุดอลังการจาก 9 Models และ 5 Drag Queens ซึ่งทุกคนคอนเฟิร์มว่าสนุกจริงๆ การดื่ม สังสรรค์ และชมการแสดงเป็นกิจกรรมหลัก ความน่าสนใจอีกอย่างของงานคือผู้เข้าร่วมสามารถถ่ายรูปกับบัลลังก์ HERO และฉากหลังของงาน HERO Awards After Party เพื่อแชร์บนโซเชียลมีเดียได้ด้วย

ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานงานมอบรางวัลฮีโร่อวอร์ด ได้ที่

25 พฤศจิกายน 2566: “My PRIDE Everyday Movie

ณ Doc Club & Pub กรุงเทพฯ

ไฮไลท์ของกิจกรรมในวันนี้ คือ การฉายภาพยนตร์สั้น 2 เรื่องจากผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาจบใหม่สาขาภาพยนตร์ศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งสองเรื่องต่างเชื่อมโยงถึงหัวข้อความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกทางเพศ ที่เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทับซ้อนกันในสังคมไทยปัจจุบัน

ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ในนามของความรัก In the Name of Love” เป็นการเล่าถึงเรื่องราวชีวิตของผู้หญิงสองคนที่อยู่ด้วยกัน แต่ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยได้ วันหนึ่งผู้หญิงคนหนึ่งเกิดหายตัวไปอย่างลึกลับ เรื่องราวจึงนำไปสู่ผลที่ตามมามากมายเพราะอีกคนไม่มีสิทธิ์เนื่องจากการจดทะเบียนสมรส

ส่วนหนังอีกเรื่องมีชื่อหนังว่า “พี่ดาราของผม He’s my star” เป็นเรื่องราวของชายแท้ที่ตัดสินใจมารับบทนำในซีรีส์ชายรักชาย หรือ Boylove เพราะเชื่อว่าเรื่องนี้จะทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังได้ แต่ทว่าเขามีความลับในอดีตของเขากับผู้เขียนซีรีส์นี้ ดังนั้นการได้รับบทนำเรื่องนี้อาจทำให้อาชีพของเขาเปลี่ยนไปมากกว่านั้น

หลังจากการฉายภาพยนตร์เสร็จสิ้นแล้ว ผู้ชมในโรงภาพยนตร์มีโอกาสได้พูดคุยโต้ตอบเสวนากับผู้กำกับภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ซึ่งทำให้เข้าใจเบื้องหลังของตัวละคร แรงบันดาลใจของโครงเรื่อง รวมถึงข้อความสำคัญที่กระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก และแง่คิดจากการชมภาพยนตร์อีกด้วย สำหรับหัวข้อที่เราพูดคุยกันในวงสนทนา เช่น ประเด็นทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายในประเทศไทย การบังคับบุคคลให้สูญหาย การตีตรา และการรังแกกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ การเสียดสี และทัศนคติเหมารวมของซีรีส์บอยเลิฟ เป็นต้น

“กิจกรรม My PRIDE Everyday Movie เป็นการร่วมมือกับมูลนิธิแอ็พคอม และภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหนังทั้ง 2 เรื่องพูดถึงประเด็นที่ทับซ้อนของคนที่มีเพศที่หลากหลาย ผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ โดยหนังทั้งสองเรื่องเป็นวิทยานิพนธ์ของน้องนิสิตที่เพิ่งจบมา โดยสะท้อนปัญหาที่ทับซ้อนของการที่เราไม่ได้รับสิ่งที่พึงได้ เช่น สมรสเท่าเทียม มีเรื่องการกลั่นแกล้งในโรงเรียน และการผลิตซ้ำของเพศที่หลากหลายในสื่อปัจจุบัน”

คุณพัทธกานต์ (เมล) สดับธรรม, Shotbyly และ  โฮสร่วมจัดกิจกรรม “My PRIDE Everyday

26 พฤศจิกายน 2566: “My PRIDE Everyday Run

ณ ลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมสุดท้ายที่จะไม่เอ่ยถึงไม่ได้คือไฮไลท์ของงาน Thailand PRIDE Festival 2023 จากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมตัวกันเนรมิตลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร ให้กลายเป็นลู่แข่งวิ่งการกุศลระยะทาง 3 กิโลเมตร หรือ “My PRIDE Everyday Run” – มินิรันที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าร่วมและสวมใส่อะไรก็ได้เพื่อแสดงความ PRIDE ของ ตัวเอง ผู้คนที่มาร่วมในวันนั้นต่างมาในชุดแฟนซีสีสันสดใส ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น กางเกงยีนส์ และชุดต่าง ที่เป็นตัวของตัวเอง เพื่อเดินหรือวิ่งให้ถึงเส้นชัย และ รับสายสะพาย Thailand PRIDE Festival 2023 รุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่น เป็นของรางวัลที่ระลึก ขณะที่ 3 คนที่สามารถเข้าเส้นชัยได้เร็วที่สุดนั้น ได้รับมงกุฎไปครอง เรียกได้ว่ากิจกรรมนี้ทั้งได้วิ่งได้สนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นก้าวหนึ่งก้าวเล็ก ๆ ที่ช่วยดึงดูดการมีส่วนร่วมของสาธารณชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายในประเทศไทยได้อย่างดีอีกด้วย

“ขอบคุณทุกท่าน ที่ทำให้เกิดงานวันนี้ขึ้นมา เครือข่ายของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ คณะทำงานของงานไทยแลนด์ไพร์ด ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการทำให้การสนับสนุน หรือว่าการส่งเสริมในเรื่องของสิทธิความหลากหลายทางเพศของพวกเรามีความเจริญก้าวหน้า มีความเบ่งบานมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ที่สำคัญที่สุดในเดือนมิถุนายน ปีหน้า 2024 รอคอยกับงานไทยแลนด์ไพร์ดที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง ส่วนสถานที่เราขออุปไว้ก่อน ฝากถึงนักวิ่ง และเครือข่ายพันธมิตรของเรา ร่วมทั้งผู้สนับสนุน อยากให้มามีส่วนร่วมกับงานไทยแลนด์ ในปี 2024 ในเดือนมิถุนายนนี้ อีกครั้งหนึ่งครับ”

นิกร ฉิมคง, ประธานองค์กรบางกอกเรนโบว์

นอกจากนี้ภายในงานยังมีบูธจากองค์กรเครือข่ายและผู้สนับสนุนอีก 12 บูธ ที่มาร่วมกันเติมสีสันให้กับงานด้วยการแจกของรางวัล มีเกมให้ร่วมสนุก และอาหารต่าง ๆ จำหน่าย ในส่วนของการแสดงบนเวทีก็สนุกสนานไม่แพ้กัน อีกทั้งไม่ได้มีเพียงแต่เพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังมีการแสดงอื่น ๆ ที่สื่อถึง “My PRIDE Everyday” ของชุมชนของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอีกด้วย

ยกตัวอย่างการแสดง เช่น การแสดงเพลงฉ่อยพื้นบ้านภาคกลาง จาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย การแสดงดนตรีสด จาก Daddy and Bear การแสดงเต้น B Boy จาก  B Boy New Born การนำ Warm Up ร่างกาย ก่อนเริ่มกิจกรรม “My PRIDE Everyday Run” จาก ครูเต้ย Warm Up Thailand การฉายสารคดีชุด การเดินทางของชีวิตทรานส์เมน The Journey of Life! จาก Backpack Journalist และ ภาพยนตร์ เรื่อง “Not Always Rainbows” จาก APPRN and Equal Asia และมีมินิทอล์คโชว์ในประเด็นต่าง ๆ เช่น สิทธิทำแท้งปลอดภัย โดย กลุ่มทำทางกฎหมายและนโยบายการดูแลกลุ่มผู้ที่ใช้ยาเสพติด โดย ศิริศักดิ์ เรื่องประกวดนางงามกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดย ปาหนัน แต่ที่เซอร์ไพร์สที่สุดของงานคือเราได้รับเกียรติจาก ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์, ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่มาร่วมกล่าวสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และมอบมงกุฎให้แก่ผู้ชนะกิจกรรม “My PRIDE Everyday Run” อีกด้วย

“มูลนิธิแอ็พคอมยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคีของงานไทยแลนด์ไพร์ด เราพยายามทำงานร่วมกัน อย่างเช่นงานในวันนี้ และทุกปีเราอยากให้มีงานยิ่งใหญ่ไปกว่านี้อีก ผมอยากให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของความเท่าเทียมของ LGBTQI จริง ๆ เพราะเรามีศักยภาพอย่างมาก งานนี้ไม่ใช่แค่ของภาคประชาสังคมอย่างเดียว ไม่ใช่แค่ภาคธุรกิจ แต่ให้รัฐบาลเราเห็นว่าเขาสามารถเป็นผู้นำด้านนี้ได้ และเขาควรจะเป็นผู้นำด้านนี้ ผมขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในการทำงานในคืนนี้กับเรา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในปี 2024 จะได้ร่วมงานกันอีกครั้ง ในการจัดงานไทยแลนด์ไพร์ด”

มิดไนท์, ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอม

ทางคณะผู้จัดงานขอขอบคุณสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เป็นอย่างสูงที่สนับสนุนพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสร้างความตระหนักรู้ว่า ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยกเป็นสิ่งสวยงาม และเรามุ่งมั่นเพื่อความเท่าเทียมและสิทธิในทุก ๆ วัน ไม่เพียงแต่ในเดือนมิถุนายน หรือ Pride Month ตามสากลเท่านั้น

แม้ว่าเราจะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ที่สามารถก้าวได้เพียงเล็กน้อย แต่เราเชื่อว่างานนี้จะทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ สู่สังคมได้ อีกทั้งเราขอขอบคุณสำหรับความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด และเราสัญญาว่าจะจัดกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นแบบนี้อีกครั้งสำหรับทุกคน

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับงานไทยแลนด์ไพรด์เฟสติวัลเพิ่มเติม ได้ที่

https://www.facebook.com/thailandpridefestival